บัณฑิตวิทยาลัย

การศึกษาในระดับบัณฑิตวิทยาลัยคือการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระดับสูง ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ไดกักขุอิน" 大学院  โดยนอกเหนือจากการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สถานศึกษาหลายแห่งยังเปิดสอนในระดับ "นักศึกษาวิจัย" ซึ่งเป็นสถานะที่จัดให้กับนักศึกษารูปแบบพิเศษในบางบัณฑิตวิทยาลัยอาจมีข้อกำหนดให้ผู้สมัครต้องผ่านการเป็น "นักศึกษาวิจัย" มาก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาโท/เอกอีกด้วย

 

หลักสูตรที่เปิดสอนนักศึกษาวิจัยระยะเวลาของหลักสูตรภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

คุณสมบัติในการเข้าศึกษาต่อการสอบเข้าแผนการวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษา ทุนการศึกษา

วุฒิการศึกษาที่จะได้รับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 

ขั้นตอนเตรียมตัวศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัยของญี่ปุ่น

หลักสูตรที่เปิดสอน

ค้นหาบัณฑิตวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรยอดนิยม

(ภาษาอังกฤษ) หลักสูตร MBA ภาคภาษาอังกฤษ


นักศึกษาวิจัย (Research Student)

นักศึกษาวิจัยหรือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เคงคิวเซ 研究生 เป็นสถานะที่จัดให้กับนักศึกษารูปแบบพิเศษที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่มาเพื่อทำวิจัยระยะสั้นโดย ไม่ได้มีจุดประสงค์ต้องการวุฒิการศึกษา
2. เป็นผู้ที่เข้าศึกษาในฐานะนักศึกษาต่างชาติระยะสั้นตาม ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
3. ผู้ที่เข้าศึกษาเพื่อใช้เวลาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรปกติของบัณฑิตวิทยาลัย เช่น หลักสูตรปริญญาโท หรือปริญญาเอก


นักศึกษาวิจัยที่เข้าฟังคำบรรยายเท่านั้นจะต้องเข้าฟังคำบรรยายอาทิตย์ละ 10 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้ได้สถานภาพการพำนักเป็น "นักศึกษาต่างชาติ"(College Student)

**ในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปกติของบันฑิตวิทยาลัยนั้น นอกจากบัณฑิตวิทยาลัยที่ใช้การสอบเข้าโดยตรงแล้ว ยังมีบัณฑิตวิทยาลัยบางแห่งที่ให้นักศึกษาผ่านการเป็น "นักศึกษาวิจัย"


ระยะเวลาของหลักสูตร

กรณีของการเรียนในระดับนักศึกษาวิจัยโดยมากใช้เวลาไม่เกิน 1-2 ปี ส่วนในระดับปริญญาโทโดยทั่วไปจะใช้เวลาเรียน 2 ปี ส่วนปริญญาเอกใช้เวลา 3 ปี


ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

เปิดสอนทั้ง ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาวิชาและบัณฑิตวิทยาลัย

กรณีของมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น

ระดับภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็น คือ ประมาณตั้งแต่ระดับ N2 ขึ้นไป (ในการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น)
แต่ละมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาจะกำหนดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เข้าเรียน 

กรณีของมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

ระดับภาษาอังกฤษที่ใช้ ตัวอย่างเช่น TOEFL iBT ตั้งแต่ 75-80 คะแนนขึ้นไป, IELTS ตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป
ผู้สมัครควรตรวจสอบคุณสมบัติจากเอกสารรับสมัครของสถานศึกษาที่สนใจสำหรับข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของสถาบันนั้นๆ
 
นอกจากระดับภาษาที่ทางแต่ละสถาบันกำหนดผ่านคะแนนสอบมาตรฐานแล้ว นักศึกษาควรเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาโดยเฉพาะการเขียนเชิงวิชาการซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย

คุณสมบัติในการเข้าศึกษาต่อ

หลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก (ภาคต้น)

1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น

2. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิ "ปริญญาตรี" จาก National Institution for Academic Degrees and Quality Enhancement of Higher Education (NIAD)

3. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 16 ปี จากสถานศึกษาในต่างประเทศ

4. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาและได้วุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากหลักสูตรที่มีระยะเวลาเรียน 3 ปีขึ้นไปในสถานศึกษาที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัยหรือจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

5. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 16 ปีจากสถานศึกษาในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองว่ามีหลักสูตรเดียวกันกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

6. เป็นผู้จบการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่กำหนด

7. เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติรายบุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัยว่ามีค วามรู้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย(ปริญญาตรี)

หลักสูตรปริญญาเอก (ภาคปลาย)


1. เป็นผู้มีวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาโทวิชาชีพเฉพาะทางของประเทศญี่ปุ่น

2. เป็นผู้ได้รับวุฒิที่เทียบเท่ากับปริญญาโทหรือปริญญาโทวิชาชีพเฉพาะทางจากต่างประเทศ

3. เป็นผู้จบหลักสูตรในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองว่าเทียบเท่ากับหลักสูตรปริญญาโทของบัณฑิตวิทยาลัยในต่างประเทศ และได้รับวุฒิที่เทียบเท่ากับปริญญาโทหรือปริญญาโทวิชาชีพเฉพาะทางจากต่างประเทศ

4. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และได้ทำงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีขึ้นไปในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย (รวมถึงมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยในต่างประเทศ) และได้รับการรับรองจากบัณฑิตวิทยาลัยว่ามีความสามารถด้านวิชาการเทียบเท่ากับผู้ที่มีวุฒิปริญญาโท

5. เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปี และผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติรายบุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัยว่ามีความรู้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาโทวิชาชีพเฉพาะทางเป็นหลักสูตรปริญญาเอก ในกรณีต้องการสมัครเข้าคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์บางหลักสูตร สัตวแพทยศาสตร์ ควรสอบถามรายละเอียดจากมหาวิทยาลัยก่อนยื่นสมัคร

การสอบเข้า

พิจารณาจากหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้ประกอบกัน วิธีการสอบแต่ละโรงเรียนจะต่างกันออกไป ควรตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของสถานศึกษา

○ พิจารณาจากเอกสาร

○ ทดสอบความสามารถทางวิชาการ

○ สัมภาษณ์

○ เขียนบทความสั้นๆ หรือเรียงความ

○ สอบปากเปล่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาเอก

แผนการวิจัย

ส่วนมากผู้สมัครจะต้องยื่นแผนการวิจัยประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัยของญี่ปุ่น

ผู้ทีสนใจสามารถค้นคว้างานวิจัยในประเทศญี่ปุ่นได้ที่ CiNii Articles นอกจากนี้ ยังสามารถอ้างอิงวิธีเขียนแผนการวิจัยและการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ได้ในหนังสือ "実践 研究計画作成法" (การจัดทำแผนการวิจัยเชิงปฏิบัติ)

• CiNii Articles
(ภาษาอังกฤษ) http://ci.nii.ac.jp/

• งานวิจัย Qross
(ภาษาอังกฤษ) https://qross.atlas.jp/top

อาจารย์ที่ปรึกษา

หมายถึง อาจารย์ที่จะให้คำปรึกษาด้านการเรียน แนะนำวิชาที่ควรลงเรียน จัดหาติวเตอร์ ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เช่น การทำวิจัย การเขียนวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการใช้ชีวิต ฯลฯ

โดยปกติจำเป็นต้องหาอาจารย์ด้วยตัวเอง บางมหาวิทยาลัยกำหนดให้ต้องติดต่อหาอาจารย์ที่ปรึกษาและให้อาจารย์ตกลงยินยอมรับเข้าศึกษาก่อนจึงจะสามารถยื่นใบสมัครได้

การหาอาจารย์ที่ปรึกษา

• ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยที่ตนเองจบมาช่วยแนะนำให้
• หาข้อมูลจากวารสารวิชาการ นักเรียนเก่าญี่ปุ่น และนักวิจัยในประเทศของตน เป็นต้น
• เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย และอื่นๆ

เว็บไซต์ค้นหาอาจารย์ที่ปรึกษา

• researchmap(เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยทางสารสนเทศแห่งชาติ )
(ภาษาอังกฤษ) http://researchmap.jp/search/

• J-GLOBAL(เว็บไซต์ขององค์กรส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ)
(ภาษาอังกฤษ) http://jglobal.jst.go.jp/en/

KAKEN Database (ฐานข้อมูลโครงการวิจัยในญี่ปุ่น)
(ภาษาอังกฤษ/ภาษาญี่ปุ่น) https://kaken.nii.ac.jp/


การติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา

เขียนอธิบายอย่างชัดเจนถึงผลงานวิจัยที่ผ่านมาและแผนงานวิจัยที่จะทำต่อไป รวมถึงเหตุผลที่เลือกอาจารย์ท่านนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรแนบจดหมายแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยที่ตนเองจบการศึกษามาไปด้วย จำเป็นต้องสื่อสารถึงความตั้งใจจริงของตนให้อาจารย์ได้ทราบผ่านทางการติดต่อหลายต่อหลายครั้ง เพราะอาจารย์มีข้อมูลการพิจารณาเพียงแค่เอกสารที่ส่งไปเท่านั้น

  

ทุนการศึกษา

• ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ประเภท Research Student
ทุนช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนจากทางกระทรวงศึกษาฯ ญี่ปุ่น
ศึกษาข้อมูล หน้า ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

• ทุน JASSO
ทุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับนักศึกษาต่างชาติทุนส่วนตัว
ศึกษาข้อมูล หน้า ทุน JASSO

• ทุนการศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยและทุนการศึกษาอื่นๆ
ศึกษาข้อมูล หน้า ทุนการศึกษา

วุฒิการศึกษาที่จะได้รับ

สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อในระดับนักศึกษาวิจัยเมื่อจบการศึกษาแล้วจะไม่ได้รับวุฒิการศึกษา ส่วนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกหลักสูตรต่อเนื่อง (โทควบเอก) นักศึกษาควรสอบถามกับทางสถาบันที่จะเข้าศึกษาต่อว่าสามารถได้รับวุฒิปริญญาโทหลังจบหลักสูตรปริญญาเอกภาคต้นหรือไม่



เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

ค้นหาบัณฑิตวิทยาลัย

◙ ค้นหาบัณฑิตวิทยาลัย
   (ภาษาอังกฤษ) https://www.jasso.go.jp/en/study_j/search/__icsFiles/afieldfile/2019/06/26/school_search_20190626_1.xlsx

◙ ค้นหาบัณฑิตวิทยาลัยที่มีหลักสูตรภาษาอังกฤษ
   (ภาษาอังกฤษ) https://www.jasso.go.jp/en/study_j/search/__icsFiles/afieldfile/2019/10/01/degree_english_190927_1.pdf

เว็บไซต์ค้นหาอาจารย์ที่ปรึกษา

◙ researchmap(เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยทางสารสนเทศแห่งชาติ )
  (ภาษาอังกฤษ) http://researchmap.jp/search/

◙ J-GLOBAL(เว็บไซต์ขององค์กรส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ)
  (ภาษาอังกฤษ) http://jglobal.jst.go.jp/en/

◙ KAKEN Database (ฐานข้อมูลโครงการวิจัยในญี่ปุ่น)
  (ภาษาอังกฤษ/ภาษาญี่ปุ่น) https://kaken.nii.ac.jp/

เว็บไซต์ค้นหางานวิจัยในญี่ปุ่น

◙ CiNii Articles
   (ภาษาอังกฤษ) http://ci.nii.ac.jp/

◙ งานวิจัย Qross
   (ภาษาอังกฤษ) https://qross.atlas.jp/top


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้